
ถั่วลันเตา ประโยชน์เน้นๆที่ควรรู้
Peas as Protein Source: A Healthy Choice
ลันเตา หรือ ถั่วลันเตา เป็นผักที่คนทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี เพราะมีการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารมานานหลายพันปีแล้ว โดยเชื่อว่าถั่วลันเตาเดิมทีแล้วเป็นถั่วป่า มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตอนกลาง หรือบางทีอาจเป็นอินเดีย และนักวิชาการให้การยอมรับว่าสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในแถบชายแดนไทยพม่านี่เอง เพราะมีหลักฐานย้อนกลับไปถึงกว่าหนึ่งหมื่นปี ชื่อของถั่วลันเตามาจากภาษาจีนที่เรียกว่า “ห่อหลั่นเตา” ซึ่งหมายถึงฮอลแลนด์ ส่วนคำว่า “เตา” ในภาษาจีนก็แปลว่าถั่ว สรุปถั่วลันเตาก็คือถั่วที่มาจากฮอลแลนด์ โดยจัดเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่อาหารจีนประเภทผัดผักจะขาดเสียไม่ได้
สรรพคุณของถั่วลันเตา
- 1.ยอดของถั่วลันเตามีเบตาแคโรทีนสูง ซึ่งช่วยในการบำรุงสายตาและผิวพรรณ (ยอดถั่วลันเตา)
- 2.ใช้บำบัดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำ ด้วยการใช้ฝักอ่อนสดนำมาล้างน้ำให้สะอาดและนำไปต้มจนสุก แล้วนำมารับประทานเป็นประจำ
- 3.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
- 4.เมล็ดช่วยบำรุงไขมัน (เมล็ด)
- 5.ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินบี 12 และสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทมาก จึงช่วยป้องกันอาการขี้หลงขี้ลืมได้
- 6.ช่วยรักษาโรคหัวใจ ด้วยการใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น
- 7.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น
- 8.ถั่วลันเตาเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยละลายลิ่มเลือด เนื่องจากผู้ป่วยบางท่านได้ดื่มน้ำถั่วลันเตาแล้วมีอาการดีขึ้น เป็นความรู้ที่เล่าต่อกันมา และยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด
- 9.ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ยอดถั่วลันเตา)
- 10.ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
- 11.ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
- 12.คนโบราณมักใช้เถาถั่วลันเตามาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เข้าเครื่องยาเพื่อรักษาโรคตับพิการ รักษาโรคตับทรุด ตับติดเชื้อ อาการผิดปกติในตับ และช่วยบำรุงตับ โดยนิยมใช้กับเถาลิ้นเสือ (เถา) นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยซักตับหรือทำให้ตับสะอาดและแข็งแรง (เถา, เมล็ด) ส่วนฝักถั่วลันเตาก็มีฤทธิ์บำรุงตับด้วยเช่นกัน (ฝัก)
- 13.ช่วยถอนพิษ
- 14.ช่วยแก้เป็นตะคริว อาการเหน็บชา
- 15.ช่วยบำรุงเส้นเอ็น (เมล็ด)
- 16.ช่วยเพิ่มน้ำนมของสตรี
- 17.ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของถั่วลันเตา ได้แก่ มีฤทธิ์เป็นยาคุมกำเนิด ช่วยยับยั้งคอหอยพอก ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และลดความดันโลหิตสูง
สรรพคุณของถั่วลันเตา
- 1.ถั่วลันเตามีเส้นใยอาหารอยู่มาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
- 2.ถั่วลันเตานอกจากจะมีเส้นใยอาหารสูงแล้ว ยังมีไขมันต่ำ และอยู่ในรูปของไขมันไม่อิ่มตัว การรับประทานเป็นประจำ จึงไม่มีผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด
- 3.ถั่วลันเตาเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพราะถั่วชนิดนี้มีโซเดียมเพียง 5% ของปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ ดังนั้นมันจึงเป็นถั่วที่ถูกโฉลกกับผู้ที่เป็นโรคความดันสูง
- 4.ถั่วลันเตามีโปรตีนสูงกว่าพืชผักทั่วไป มีทั้งแป้งและน้ำตาล ทำให้มีความหวานน่ารับประทาน พ่อแม่อาจริเริ่มให้ลูกรักการรับประทานผักได้ด้วยการนำถั่วลันเตาอ่อน ๆ ให้ลองชิมก่อน เด็กอาจจะชอบเพราะความหวาน และยังเป็นการปลูกฝังนิสัยการรับประทานผักให้เด็กได้เป็นอย่างดี
- 5.สำหรับบางคนอาจใช้น้ำถั่วลันเตาเพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติทางด้านโภชนาการ หรือขาดสารอาหาร ผอมแห้ง รวมไปถึงเด็กที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็นหืนและค่อนข้างเหนียว
- 6.ถั่วลันเตาหรือซุปถั่วลันเตา สามารถช่วยให้อาการทุเลาลงหรือหายไปได้ เพราะส่วนกากที่ผสมอยู่ในน้ำถั่วลันเตานั้น จะช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารช่วยจับสารพิษก่อโรคต่าง ๆ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอาหารให้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาอาการของโรคไอบีเอส (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคลำไส้หงุดหงิด เมื่อดื่มน้ำปั่นถั่วลันเตาแล้วอาการจะดีขึ้นมาก แต่ต้องเป็นน้ำถั่วลันเตาที่นำไปต้มแล้วเสิร์ฟแบบอุ่น ๆ พร้อมทั้งเติมผลกระวานและขิงเข้าไปด้วยพอให้ออกรสร้อน
- 7.ถั่วลันเตาประเภทกินเมล็ดเป็นผักที่นิยมใช้ในอาหารจีนประเภทผัดผัก ผัดถั่วลันเตา หรือนำไปต้ม ทำไข่ยัดไส้ แกงจืดใส่หมู ข้าวผัดอเมริกัน ใช้เป็นส่วนประกอบในเบเกอรี่ อย่างเช่น พิซซ่า แซนด์วิช ไส้ขนมปัง หรือใช้เป็นเครื่องเคียงในสเต็ก ฯลฯ
- 8.ส่วนถั่วลันเตาประเภทกินฝัก เราจะใช้ฝักถั่วที่ยังอ่อนอยู่นำมาใช้ปรุงอาหาร ด้วยการนำไปผัดกับหมูหรือกุ้ง ผัดน้ำมันหอย ผัดผักรวมมิตร ใช้ลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ทำเป็นแกงแคร่วมกับผักต่าง ๆ แกงเลียง แกงส้ม หรือทำแกงจืดหมูสับ เป็นต้น ส่วนฝักแก่ก็นำมาปอกแยกเอาแต่เมล็ดมารับประทานเป็นผัก
- 9.เรามักนิยมใช้ยอดของต้นถั่วลันเตาพันธุ์กินยอดมาใช้ปรุงอาหาร และยังให้โปรตีนมากกว่าผักทั่ว ๆ ไป หากนำมาใช้ผัดจะมีรสหวานและกรอบ แต่ควรผัดด้วยไฟแรงอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้คุณค่าทางอาหารสูญหายไปมากนัก
- 10.เมล็ดถั่วลันเตาสามารถนำไปต้มดองหรือทำเป็นถั่วกระป๋องขาย
- 11.ใช้แปรรูปเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำเป็นผักแช่แข็ง นำไปต้ม คั่ว หรืออบกรอบกับเกลือเป็นขนมขบเคี้ยวก็ได้ ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : www.medthai.com
www.etprotein.com/peas-as-protein-source-a-healthy-choice/
"Peas are a healthy and sustainable choice as a protein source. They offer numerous health benefits, including weight management, heart health, digestive health, and blood sugar control."